TM30แบบการแจ้งคนต่างด้าวพักอาศัยคุณได้ให้ชาวต่างชาติพำนักที่บ้านหรือเคหสถานของคุณ หรือไม่? หรือคุณเป็นผู้ประกอบการบ้านเช่าหรือโรงแรม หรือเปล่า?
ถ้าใช่ คุณจำเป็นต้องรู้กฎหมายข้อหนึ่งเกี่ยวกับการให้ที่พักอาศัยแก่ชาวต่างชาติ ไม่ว่าคุณจะได้รับค่าตอบแทนจากการให้ที่พักดังกล่าวหรือไม่

กฎหมายฉบับนี้มีมานานแล้วในประเทศไทย แต่ในระยะหลัง เพิ่งจะทำการแก้ไขเพื่อให้ครอบคลุมถึงเคหสถานที่ไม่ใช่โรงแรม
นั่นก็คือ TM30 นั่นเองหรือ พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ซึ่งกำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย”
การที่ต้องแจ้งการเข้าพักภายใน 24 ชั่วโมง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างโหดอยู่ ซึ่งเกิดเนื่องจากมาตรการการป้องกันการก่อการร้าย ที่กำลังคุกคามโลกในปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ให้ความร่วมมือกับ Interpol และกองกำลังตำรวจนานาชาติ เพื่อช่วยยับยั้งผู้ก่ออาชญากรรมที่เข้ามาหลบหนี และพำนักพักพิงอยู่ในประเทศไทย กฎหมายนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มการสอดส่องดูแลชาวต่างชาติ ไม่ว่าพวกเขาจะมาท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทย หรือมาอาศัยอย่างถาวรก็ตาม และยังเป็นการเก็บข้อมูลการท่องเที่ยวของภาครัฐอีกด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นวิธีที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองใช้เพื่อควบคุมมิให้ชาวต่างชาติอยู่นานเกินระยะเวลาที่วีซ่ากำหนด หรือเข้ามาทำงานในประเทศอย่างผิดกฎหมาย
การขยายข้อบัญญัติ

การขยายข้อบัญญัติให้ครอบคลุมถึงเคหสถานที่ไม่ใช่โรงแรมนั้น เรียกเสียงฮือฮาในเวปไซต์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะนั่นหมายถึงว่า หากคุณแค่รับแขกต่างประเทศเข้ามาพักในบ้านของคุณ คุณก็ต้องทำการแจ้ง TM 30 ไม่อย่างนั้น คุณจะมีความผิดทางกฎหมาย!
โดยปกติแล้ว เมื่อชาวต่างชาติเข้าพักในโรงแรม เกสต์เฮ้าส์ อพาร์ตเม้นต์ บ้านเช่า หรือสถานประกอบการอื่นๆ ที่มีห้องพักมากกว่า 4 ห้องขึ้นไป ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่ในการทำสำเนาหนังสือเดินทางและวีซ่าของพวกเขา และรายงานต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่โดยส่วนมากแล้วผู้ประกอบการที่ไม่ใช่โรงแรมมักจะละเลยหรือไม่ทราบถึงบทบัญญัติดังกล่าว เพราะทางรัฐไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวดเท่าใดนัก แต่ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป ในปัจจุบันรัฐฯ ได้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเข้มงวด และได้ขยายข้อบัญญัติไปอีกระดับขั้น ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการแล้ว เพื่อนสนิท มิตรสหาย ญาติ หรือใครก็ตามที่ให้ที่พักพิงแก่ชาวต่างชาติ จะจำเป็นต้องทำการรายงานต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด้วยเช่นกัน โดยที่การฝ่าฝืนจะมีโทษปรับถึง 1,600บาท ต่อชาวต่างด้าวหนึ่งคน
รัฐฯ มักจะพบการฝ่าฝืนเมื่อชาวต่างชาติเข้าไปเช็คอินครบ 90 วันที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือเมื่อเข้าไปขอต่ออายุวีซ่า ซึ่งผู้ถูกปรับจะไม่ใช่ชาวต่างชาติ แต่เป็นผู้ประกอบการหรือผู้ที่ให้ที่พักพิงแก่พวกเขา ดังนั้นคุณควรจะระวังและให้ความสำคัญต่อ TM 30 เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณจะได้มอบความรับผิดชอบการให้เช่าที่พักอาศัยไว้กับนายหน้าหรือผู้ดูแลก็ตาม หากนายหน้าละเลยที่จะรายงานต่อตม. แล้ว คุณก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงและเสียค่าปรับเพราะคุณเป็นเจ้าของเคหสถาน อย่างไรก็ดี ทางสำนักงานฯ ได้อำนวยความสะดวกในการรายงาน TM 30 ให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบออนไลน์
วิธีการรายงาน TM 30
มีวิธี 3 วิธีที่เจ้าของที่พักและผู้ประกอบการสามารถรายงาน ตม. 30
1. ระบบออนไลน์ TM 30 Online เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เจ้าของที่พักจะต้องสมัครขอชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อน ซึ่งสามารถสมัครได้บนหน้าเวปไซต์ https://extranet.immigration.go.th/ ข้อเสียของวิธีการนี้คือ บางทีระบบจะรวนและเมื่อสมัครแล้ว อาจไม่ได้รับชื่อและรหัสผู้ใช้
2. นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง เมื่อชาวต่างชาติผู้พักอาศัยทำการกรอกแบบ TM 30 (ดาวน์โหลด แบบฟอร์มเจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ที่นี่) (ดาวน์โหลด แบบฟอร์มบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ที่นี่) แล้ว นำมาให้เจ้าของบ้าน และเจ้าของจะต้องเตรียมสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน มายื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในเขตพื้นที่
3. ชาวต่างชาติผู้พักอาศัยนำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากแบบ TM 30 แล้ว จะต้องมีใบมอบอำนาจของ TM 30 จากเจ้าของที่พักแนบมาด้วย (ดาวน์โหลด แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ การแจ้งรับคนต่างด้าว ที่นี่)โดยให้ชาวต่างชาตินำมายื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในเขตพื้นที่
การรายงาน TM 30 จะต้องทำสำหรับชาวต่างชาติผู้พักอาศัย ทุกคน ไม่ใช่เพียงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งคณะหรือหนึ่งเคหสถาน พูดให้ง่ายคือ จะต้องรายงาน ทุกคน ที่ต้องใช้วีซ่าในการพำนักในประเทศไทย และ ทุกครั้ง ที่เขาเข้ามาพักอาศัยกับคุณ
ข้อควรระวัง
หากชาวต่างชาติได้เข้าพักในเคหสถานของคุณ (และคุณได้รายงาน TM 30 แล้ว) หลังจากเขาเดินทางไปเที่ยว หรือพำนักที่อื่นเป็นระยะเวลาหนึ่งและกลับเข้ามาพักในเคหสถานของคุณอีกครั้ง คุณก็ต้องรายงาน TM 30 อีกครั้งหนึ่ง ในกรณีเดียวที่คุณไม่ต้องรายงานอีกคือ ในกรณีที่ชาวต่างชาติพักกับคุณอย่างต่อเนื่องโดยไม่เข้าพักที่อื่นเลย เพราะในการไปเที่ยวและเข้าพักที่อื่นนั้น สถานที่นั้นก็จะได้รายงาน TM 30 ของพวกเขาแล้ว ทำให้ TM 30 แรกของคุณเป็นอันสิ้นสุด เมื่อชาวต่างชาติกลับมาพักในเคหสถานของคุณ คุณจึงต้องรายงานพวกเขาอีกครั้ง
คำถามที่พบบ่อยฉันจะต้องรายงานชาวต่างชาติ “ทุกคน” ที่มาอาศัยอยู่กับฉันไหม?
ใช่แล้ว มีแบบฟอร์มสำหรับการรายงานหลายบุคคลในคราวเดียว ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
หากชาวต่างชาติออกนอกประเทศไปไม่กี่วัน และกลับเข้ามาพำนักกับฉันอีกครั้ง ฉันจะต้องรายงาน TM 30 อีกครั้งหรือไม่?
ใช่อย่างแน่นอน เมื่อออกนอกประเทศและกลับเข้ามาใหม่ ก็ต้องรายงานใหม่อีกครั้ง
หากชาวต่างชาติที่พักอาศัยกับฉัน ไปเที่ยวต่างจังหวัด 2-3 วันและกลับมาพักกับฉันใหม่ ฉันจะต้องรายงาน TM 30 อีกครั้งหรือไม่?
ใช่อย่างแน่นอน เมื่อพวกเขากลับมาพักกับคุณอีกครั้ง คุณก็ต้องรายงาน TM 30 อีกครั้ง
คุณสามารถรายงาน ตม. 30 ทางระบบออนไลน์ได้ที่ลิ๊งค์นี้:
https://extranet.immigration.go.th/fn24online/?sessionExpire=true
คุณสามารถแบ่งปันความคิดเห็น คำถาม หรือประสบการณ์ของคุณกับเราด้านล่างนี้
ชมวีดีโอ TM.30 ได้ที่นี่

คิดเห็นอย่างไรบอกเราได้นะจ๊ะ
ถาม-ตอบ กับ การให้ที่พักอาศัยแก่ชาวต่างชาติ: ไขข้อข้องใจ TM.30
1.แบบฟอร์ม TM30 กรอกรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วน
2.Copy passport ของผู้เข้าพักอาศัย
3.ในกรณีที่เป็นการเช่าให้แนบสัญญาเช่าด้วย
4.สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
5.สำเนาบัตรประชานของเจ้าของบ้าน
ทั้งนี้เจ้าของบ้านต้องเข้าไปแจ้งที่ตม.เองหลังจากที่ชาวต่างชาติเข้าพักอาศัยภายใน 24 ชั่วโมง
ปล. แนะนำให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้ง TM30 กับเจ้าหน้าที่ตม.อีกครั้ง
สามารถให้บุคคลอื่นทำเรื่องแทนได้ โดยที่ต้องมีใบมอบอำนาจให้บุคคลนั้นๆทำแทน(ระบุในใบมอบอำนาจให้ชัดเจน)
หากยื่นตม.เกินระยะเวลา จะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท
การแจ้งตม. ไม่เสียค่าใช้จ่ายหากไปแจ้งตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
หากชาวต่างชาติเป็นเจ้าของเองสามารถเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วไปแจ้งที่ตม.ได้ด้วยตัวเอง
หากมีผู้พักอาศัยที่ซึ่งไม่ได้มีสัญชาติไทย เจ้าของที่พักอาศัยจำเป็กต้องแจ้งตม. แต่หากสามี-ภรรยา และลูก มีสัญชาติไทยไม่จำเป็นต้องแจ้ง
ที่พักอยู่ในเขตจังหวัดไหนให้ไปแจ้งกับจังหวัดนั้นๆ
ปล. แนะนำให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้ง TM30 กับเจ้าหน้าที่ตม.อีกครั้ง
ใช่แล้ว มีแบบฟอร์มสำหรับการรายงานหลายบุคคลในคราวเดียว ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เมื่อออกนอกประเทศและกลับเข้ามาใหม่ ต้องรายงานใหม่อีกครั้ง
ใช่แล้ว เมื่อพวกเขากลับมาพักกับคุณอีกครั้ง คุณก็ต้องรายงาน ตม.30 อีกครั้ง