จากบทความที่ผ่านมาของเราได้มีการพูดถึงความสำคัญของศาลพระภูมิกันไปแล้ว สามารถอ่านได้ที่นี่ บทบาทของศาลพระภูมิเพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้าน รอบนี้เรากลับมากับหัวข้อที่เกี่ยวกับ ศาลเจ้าที่ กันบ้าง เพราะนอกจากศาลพระภูมิที่เราจะสามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ คู่กับบ้านของคนไทยแล้ว อีกสิ่งที่มักจะมาคู่กันเสมอ นั่นก็คือศาลพระภูมินั่นเอง
โดยบางคนอาจจะยังสับสนว่าทั้งสองสิ่งมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคนทราบกัน!
ศาลเจ้าที่ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษเราเชื่อว่ามาจากวิญญาณที่ต้องการจะรักษาบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ณ ที่นั้น ๆ โดยอาจจะมาจาก เจ้าของที่ดิน เจ้าที่เจ้าทาง บรรพบุรุษ หรือบางคนอาจจะบอกว่าเป็นผีหรือเทวดาที่ติดอยู่ในวิมานและวิมานก็คือส่วนหนึ่งของบ้านเรานั่นเอง ดังนั้นศาลเจ้าที่ คือ ศาลที่ตั้งไว้ให้สำหรับเจ้าที่เดิม ซึ่งประจำอยู่ในพื้นที่นี้ก่อนเราจะเข้ามาอยู่อาศัย ตั้งขึ้นเพื่อให้เจ้าที่เดิมที่อาศัยอยู่ในที่ดินนี้ ได้มาพักอาศัยเพื่อดูแลและรักษาบ้านและที่ดินแห่งนี้ต่อไป
การตั้งศาลเจ้าที่จะต้องคำนึงถึงตำแหน่งของการตั้งศาลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะหากเราตั้งในตำแหน่งที่อาจจะส่งผลร้ายตามมาก็เป็นได้ ซึ่งลักษณะชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการตั้งศาลมีดังนี้
- ต้องตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน
- ห้ามวางศาลหลบมุมเด็ดขาด
- ห้ามวางศาลพิงห้องน้ำ
- ห้ามวางศาลไว้ใต้บันไดและใต้คาน
ข้อสังเกตุสำคัญที่จะทำให้เราสามารถแยกประเภทระหว่างศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่ได้คือ ศาลพระภูมิจะมีเสาเดียวและสูงกว่า ส่วนศาลเจ้าที่จะมีสี่เสาและความสูงต่ำกว่านั่นเอง และถ้าหันหน้าเข้าศาล ศาลพระภูมิจะต้องอยู่ซ้ายมือและศาลเจ้าที่จะอยู่ขวามือเสมอ รูปแบบของศาลเจ้าที่จะเป็นเรือนไทยจำลองบ้าน มี 4 เสา หรือ 6 เสา

นอกจากเราจะสามารถไหว้และสัการะต่อหน้าศาลเจ้าที่แล้ว หากบ้านไหนไม่มีเจ้าที่ล่ะ? เราจะสามารถไหว้เจ้ที่ได้อยู่ไหม? คำตอบคือ เราสามารถไหว้ได้ค่ะ เพราะตามความเชื่อของบ้านเรายังมีการ ไหว้ศาลพระภูมิกลางบ้าน อีกด้วย เนื่องจากเรามีความเชื่อกันมาบ้านที่อยู่นั้นจะมีเจ้าของเรือนเจ้าของบ้านอยู่แล้ว เราจึงสามารถไหว้ที่กลางบ้านของเราได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังควรที่จะต้องไหว้อย่างน้อย 3-6 เดือนต่อครั้ง เพื่อเป็นการขอขมาในสิ่งที่เราได้ล่วงเกินไป โดยต้องเตรียมอุปกรณ์ดังนี้
- ผลไม้ 9 อย่าง เพื่อความเป็นสิริมงคล อาทิเช่น องุ่น เพื่อช่วยในเรื่องการเงิน หรือทรัพย์สมบัติที่เพิ่มพูนขึ้น, กล้วย จะช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ที่ทำง่ายขึ้น แก้วมังกร เพื่อช่วยในเรื่องการปกครองลูกน้องบริวารสำหรับเจ้าของกิจการ หรือสับปะรดเองก็มีความหมายเพื่อจะได้มีหูตากว้างไกล ซึ่งทั้งหมดล้วนมีแต่ความหมายดี ๆ เหมาะสำหรับการไหว้เป็นอย่างมาก
- หมากพลู 9 คำ
- น้ำ 5 แก้ว
- ดาวเรือง 9 ดอก
- เทียน 1 คู่ ธูป 5 ดอก
วิธีไหว้เจ้าที่กลางบ้าน
- ตัวผู้ไหว้ให้หันหน้าเข้าบ้านหันหลังให้กับประตูบ้าน และให้นำของไหว้ทั้งหมดวางไว้บนผ้าขาวบาง
- จุดธูปเทียน พร้อมกล่าวขอขมา “ข้าแต่เจ้าที่เจ้าทาง… วันนี้วันดีของข้าพเจ้า รวมทั้งบอกบ้านเลขที่ตัวเอง บ้านหลังนี้เป็นบ้านของใคร ชื่อนาม-สกุล เราจะทำการขอขมากรรมแก่ท่าน หากมีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้ทำผิดพลาดไป ตั้งใจก็ดีไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่รู้และไม่รู้ก็ดี ขอท่านเมตตาและอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า และโปรดช่วยให้ข้าพเจ้าอยู่ที่บ้าน เลขที่… หลังนี้อย่างมีความสุข ราบรื่น เงินทองไหลมาเทมา” (หลังจากกล่าวเสร็จสามารถอธิษฐานขอตามปรารถนาต่อได้เลย)
ไหว้เจ้าที่กลางบ้านอย่างไรให้ปัง ๆ เฮง ๆ ที่สุด?!
3.ปักธูปเสร็จ รอจนหมดแล้วค่อยทำการขอพร และกล่าวคำลาของไหว้ จากนั้นปักธูป รอให้ธูปหมดแล้วจึงดับเทียนและลาของไหว้ โดยให้จับที่พาน พาชนะ หรือถาดรองและกล่าวว่า “ขอแดนขอชานให้ลูกให้หลานกินเพื่อความเป็นสิริมงคล” แต่ห้ามนำมาทานเด็ดขาด หากเป็นการไหว้ถวายเจ้าที่หรือสัมภเวสี เจ้าของบ้านหรือร้านค้าห้ามนำของไหว้มาทานเด็ดขาดนะคะ ให้นำไปให้ทานทั้งหมด เช่น ให้ลูกน้อง แจกคนยากไร้ เพราะถือเป็นของบริวาร นอกจากของไหว้และกระบวนการไหว้จะสำคัญแล้วเราต้องคำนึงถึงเวลาที่ควรไหว้ด้วย ซึ่งการไหว้เจ้าที่กลางบ้าน ควรทำในเวลาตอนกลางวัน จะดีที่สุดตอน 12.00 น. และควรเลือกทำวันคารหรือเสาร์เพื่อความปัง!
การไหว้เจ้าที่ถือเป็นสิ่งที่เป็นความเชื่อที่มีมาอย่างช้านาน ฉะนั้นการที่เราสืบต่อหลักการไหว้ที่ถูกต้องแล้วสิ่งนี้ยังจะเป็นการคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีชีวิตของคนไทยตามหลักศาสตร์ความเชื่ออีกหนึ่งศาสตร์ และยังทำให้ผู้อาศัยนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ร่ำรวยเงินทอง และกิจการรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้อีกด้วย
คิดเห็นอย่างไรบอกเราได้ที่นี่
ถาม-ตอบ กับ ไหว้เจ้าที่กลางบ้านอย่างไรให้ปัง ๆ เฮง ๆ ที่สุด?!
ศาลเจ้าที่ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษเราเชื่อว่ามาจากวิญญาณที่ต้องการจะรักษาบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ณ ที่นั้น ๆ โดยอาจจะมาจาก เจ้าของที่ดิน เจ้าที่เจ้าทาง บรรพบุรุษ หรือบางคนอาจจะบอกว่าเป็นผีหรือเทวดาที่ติดอยู่ในวิมานและวิมานก็คือส่วนหนึ่งของบ้านเรานั่นเอง ดังนั้นศาลเจ้าที่ คือ ศาลที่ตั้งไว้ให้สำหรับเจ้าที่เดิม ซึ่งประจำอยู่ในพื้นที่นี้ก่อนเราจะเข้ามาอยู่อาศัย ตั้งขึ้นเพื่อให้เจ้าที่เดิมที่อาศัยอยู่ในที่ดินนี้ ได้มาพักอาศัยเพื่อดูแลและรักษาบ้านและที่ดินแห่งนี้ต่อไป
ศาลพระภูมิมีเสาเดียวและสูงกว่า ส่วนศาลเจ้าที่มีสี่เสาและความสูงต่ำกว่า และมีรูปแบบของบ้านไทยจำลองบ้าน
สามารถไหว้ได้ค่ะ เราสามารถไหว้ที่กลางบ้านของเราโดยไหว้ศาลพระภูมิ และควรไหว้อย่างน้อย 3-6 เดือนต่อครั้ง
ตำแหน่งการตั้งศาลเจ้าที่มีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อความเชื่อของบรรพบุรุษและเป็นประจำที่ต้องเคารพ
การไหว้เจ้าที่เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทย มีบทบาทในการขอความเจริญรุ่งเรืองและความสุขให้แก่บ้านเรือนและครอบครัว และถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตลอดกาล
การไหว้เจ้าที่มีความหมายทางวัฒนธรรมและความเชื่อมากกว่าทางศาสนา
การไหว้เจ้าที่เป็นการปฏิบัติทางวัฒนธรรมและมีบทบาทในการขอความเจริญรุ่งเรืองและความสุขให้แก่บ้านเรือนและครอบครัว
- ผลไม้ 9 อย่าง เพื่อความเป็นสิริมงคล อาทิเช่น องุ่น เพื่อช่วยในเรื่องการเงิน หรือทรัพย์สมบัติที่เพิ่มพูนขึ้น, กล้วย จะช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ที่ทำง่ายขึ้น แก้วมังกร เพื่อช่วยในเรื่องการปกครองลูกน้องบริวารสำหรับเจ้าของกิจการ หรือสับปะรดเองก็มีความหมายเพื่อจะได้มีหูตากว้างไกล ซึ่งทั้งหมดล้วนมีแต่ความหมายดี ๆ เหมาะสำหรับการไหว้เป็นอย่างมาก
- หมากพลู 9 คำ
- น้ำ 5 แก้ว
- ดาวเรือง 9 ดอก
- เทียน 1 คู่ ธูป 5 ดอก
- ตัวผู้ไหว้ให้หันหน้าเข้าบ้านหันหลังให้กับประตูบ้าน และให้นำของไหว้ทั้งหมดวางไว้บนผ้าขาวบาง
- จุดธูปเทียน พร้อมกล่าวขอขมา “ข้าแต่เจ้าที่เจ้าทาง… วันนี้วันดีของข้าพเจ้า รวมทั้งบอกบ้านเลขที่ตัวเอง บ้านหลังนี้เป็นบ้านของใคร ชื่อนาม-สกุล เราจะทำการขอขมากรรมแก่ท่าน หากมีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้ทำผิดพลาดไป ตั้งใจก็ดีไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่รู้และไม่รู้ก็ดี ขอท่านเมตตาและอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า และโปรดช่วยให้ข้าพเจ้าอยู่ที่บ้าน เลขที่… หลังนี้อย่างมีความสุข ราบรื่น เงินทองไหลมาเทมา” (หลังจากกล่าวเสร็จสามารถอธิษฐานขอตามปรารถนาต่อได้เลย)
- ปักธูปเสร็จ รอจนหมดแล้วค่อยทำการขอพร และกล่าวคำลาของไหว้ จากนั้นปักธูป รอให้ธูปหมดแล้วจึงดับเทียนและลาของไหว้ โดยให้จับที่พาน พาชนะ หรือถาดรองและกล่าวว่า “ขอแดนขอชานให้ลูกให้หลานกินเพื่อความเป็นสิริมงคล” แต่ห้ามนำมาทานเด็ดขาด หากเป็นการไหว้ถวายเจ้าที่หรือสัมภเวสี เจ้าของบ้านหรือร้านค้าห้ามนำของไหว้มาทานเด็ดขาดนะคะ ให้นำไปให้ทานทั้งหมด เช่น ให้ลูกน้อง แจกคนยากไร้ เพราะถือเป็นของบริวาร นอกจากของไหว้และกระบวนการไหว้จะสำคัญแล้วเราต้องคำนึงถึงเวลาที่ควรไหว้ด้วย