สัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน ก่อนที่เราจะทำการเซ็นลายลักษณ์อักษรลงไปบนสัญญาเราควรจะต้องตรวจสอบรายละเอียด ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายที่ดินหรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดใดก็ตามแต่รวมไปถึงการซื้อขาย ไม่ว่าจะรถยนต์ อาคารพาณิชย์ รวมไปถึงทรัพย์สินทุกชนิดที่มีมูลค่าและมีข้อสัญญาเกี่ยวกับทางกฎหมายโดยตรง เพราะหลังจากที่เราเซ็นสัญญาไปเป็นที่เรียบร้อยจะมีข้อกฎหมายในการผูกมัดเกี่ยวกับตัวเราทันที ดังนั้นควรอ่านข้อสัญญาให้ละเอียดถี่ถ้วน
สำหรับผู้ที่ไม่เคยซื้อและไม่เคยขาย ไม่เคยใช้ สัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน อย่างน้อยที่สุดเราควรอ่านข้อความสำคัญหรือกฎเหล็ก 5 ข้อเหล่านี้ไว้ให้ดีก่อนที่จะทำการซื้อขายบ้านที่ดิน

5 กฎเหล็ก ที่เราจะต้องให้ความสำคัญก่อนจะลงรายชื่อในสัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน
1.) ค่าดำเนินการในการซื้อขายบ้านที่ดิน
เราต้องดูในสัญญาว่าใครเป็นผู้ชำระค่าดำเนินการในการซื้อขายที่ดิน การตกลงกันเพียงแค่คำพูดอาจจะยังไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษรลงในเอกสาร ยิ่งราคาทรัพย์สินมีมูลค่ามากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็จะสูงตามไปด้วย
2.) วิธีการชำระเงินหลังการซื้อขาย
ในการซื้อขายที่ดิน จะต้องแจ้งกันอย่างชัดเจนด้วยวิธีการชำระเงิน จะเป็นการชำระต่อเจ้าหน้าที่หรือจะเป็นการชำระเงินก่อนที่จะทำสัญญาโอนต้องมีความชัดเจน เพราะเมื่อหลังจากที่เซ็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นที่เรียบร้อย อาจจะมีปัญหาตามมา จึงต้องตกลงอักษรและคำพูดกันให้ดีก่อนเซ็นสัญญา
3.) ทรัพย์ที่จะได้รับ
ทรัพย์ที่เราจะได้รับหลังจากที่ทำการซื้อขายจะต้องตรงตามที่ตกลงไว้ ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีรูปถ่ายเอาไว้ มีการเซ็นเลายมือชื่อกำกับไว้ เช่น อาคารห้องชุดที่มีอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ติดมากับตัวอาคาร ต้องมีการลงลายลักษณ์อักษรในสัญญาซื้อขายบ้านที่ดินอย่างชัดเจน หลายครั้งที่ผู้ขายทำการขายทรัพย์ไปแล้วแต่ลักลอบถอนเฟอร์นิเจอร์บางตัวออกไป ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควร และกลายเป็นข้อพิพาทกันมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นต้องเช็คให้ดี
4.) วันที่ทำการส่งมอบ
ตรวจสอบวันที่ทำการส่งมอบให้อย่างชัดเจน เพราะในบางครั้งอาจจะยังมีผู้อยู่อาศัย (กรณีปล่อยเช่า หรือเจ้าของเดิมยังคงอยู่) จะต้องกำหนดวันเวลาส่งมอบและตรวจสอบความเรียบร้อยอย่างชัดเจน
5.) การผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน จะมีการวางเงินมัดจำ และมีการกำหนดระยะเวลาในการถือครองเงินมัดจำ จะต้องทำความเข้าใจให้ดี ภายในกำหนดระยะเวลาซื้อขายมีระยะเวลาเท่าไหร่เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลา ผู้ขายทรัพย์จะเป็นผู้รับเงินมัดจำหรือจะทำการคืนเงินให้กับผู้ซื้อจำนวนเงินเท่าไหร่ จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจน

ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยของ สัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน เราอาจจะดูในเรื่องราวของทรัพย์สินที่เราจะซื้อเพิ่มเติม รวมถึงข้อสัญญาผูกมัดต่าง ๆ ถ้าเป็นอาคารชุดหรือเป็นอาคารพาณิชย์จะต้องมีการรับประกันสินค้าหรือระยะเวลาในการรับประกัน ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ควรศึกษาให้ดีก่อนที่จะทำการลงลายลักษณ์อักษรลงไป ซึ่งสัญญาจะต้องเป็นกลางทั้งทางฝั่งของผู้ซื้อและทางฝั่งของผู้ขาย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายมากที่สุด และในการตรวจรับบ้านถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรทำเมื่อซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมใหม่
อ่านบทความดีดีกันต่อได้เลยที่ตรวจรับบ้าน…ขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของควรทำ!

คิดเห็นอย่างไรบกได้ที่นี่
ถาม-ตอบ กับ สิ่งที่คุณควรตรวจสอบก่อนเซ็นบนสัญญาซื้อขายบ้านที่ดิน
สิ่งที่ควรตรวจสอบในสัญญาซื้อขายบ้านที่ดินรวมถึงรายละเอียดของทรัพย์สิน, ราคา, เงื่อนไขการโอนสิทธิ์, ระยะเวลา, และเงื่อนไขการชำระเงิน
การตรวจสอบรายละเอียดของทรัพย์สินเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าบ้านและที่ดินมีสภาพพร้อมใช้และไม่มีปัญหาที่ซ่อนเร้น เช่น ความเสียหาย, คดีทางกฎหมาย, หรือข้อจำกัดในการใช้งาน
เราควรระวังการยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงที่ระบุในสัญญา, การตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียด, และการตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงินและระยะเวลาที่ระบุ
การตรวจสอบเงื่อนไขการโอนสิทธิ์ช่วยให้ทราบว่าการโอนสิทธิ์จะเป็นไปอย่างไร และว่ามีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษใดที่ต้องปฏิบัติ
เราควรระวังราคาที่ระบุในสัญญาและตรวจสอบว่ามีการระบุราคาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับคุณสมบัติและที่ตั้งของทรัพย์สิน
การอ่านข้อกำหนดและข้อตกลงให้รอบคอบช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ต้องปฏิบัติและสิทธิ์และหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในสัญญาซื้อขายบ้านที่ดินอย่างชัดเจน
กฎเหล็กที่เราควรให้ความสำคัญคือการตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาซื้อขาย ราคา เงื่อนไขการโอนสิทธิ์ ระยะเวลา และเงื่อนไขการชำระเงิน
ค่าดำเนินการในการซื้อขายบ้านที่ดินควรระบุในสัญญา และผู้ที่ตกลงที่จะชำระค่าดำเนินการควรเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสาร
สัญญาควรระบุวิธีการชำระเงินหลังการซื้อขายที่ดินอย่างชัดเจน, ว่าจะชำระต่อเจ้าหน้าที่หรือชำระเงินก่อนที่จะทำสัญญาโอนสิทธิ์
เราควรตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่ได้รับตรงตามที่ระบุในสัญญา และหากเป็นไปได้ควรรักษารูปถ่ายและลายลักษณ์อักษรในสัญญาอย่างชัดเจน.
สัญญาควรระบุวันที่ทำการส่งมอบอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังการซื้อขาย
การผิดสัญญาสามารถเกิดขึ้นเมื่อผู้ขายหรือผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา รวมถึงการไม่ชำระเงินมัดจำตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา