ตรวจรับบ้าน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรทำเมื่อซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมใหม่ เพราะนอกจากจะช่วยให้เราได้บ้านหรือคอนโดที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานก่อสร้างแล้ว
ยังช่วยให้เราไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาหลากหลายอย่างที่อาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของงาน ทำให้ต้องมีการแก้ไขซ่อมแซมเองและเสียเงินเพิ่มโดยใช่เหตุ
ก่อนที่จะเซ็นรับบ้านหรือคอนโดที่เราเพิ่งซื้อใหม่นั้น การตรวจเช็คเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเรามีขั้นตอน เช็คลิสต์และทริคสำหรับตรวจบ้านมาฝากดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: เตรียมตัวก่อนเข้าตรวจบ้าน
เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ขั้นตอนนี้สำคัญมากในการตรวจรับโอนบ้าน เพราะถ้าไม่ศึกษา ไม่เตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อน การตรวจรับโอนบ้านก็คงไม่ราบรื่นเท่าไหร่นัก โดยเรามีข้อแนะนำในการเตรียมตัวดังนี้
- เลือกวัน เวลาที่เราว่างทั้งวัน ให้เวลากับการตรวจตราได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเตรียมผู้ช่วยไปด้วยสัก 2-3 คน
- นัดหมายกับทางโครงการล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วัน
- เตรียมเช็คลิสต์และศึกษาวิธีการตรวจเช็คสิ่งต่างๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วน
ขั้นตอนที่ 2: เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจเช็คให้พร้อม
สมุด/ ปากกา หรือดินสอ เพื่อใช้ในการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ
ผังแบบแปลนบ้าน ข้อมูลส่วนนี้อาจขอได้จากโครงการโดยตรง หรือจากแผ่นพับโฆษณา และอย่าลืมเขียนสัญลักษณ์ ขอบเขตที่ดินไว้ด้วยนะ
ตลับเมตรหรือสายวัด สำหรับวัดระยะส่วนต่างของบ้านว่าถูกต้องการขนาดที่ระบุไว้ในแบบหรือไม่
อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย แนะนำว่าให้ใช้เทปกาวสีสันสดใส ที่เป็นแบบลอกออกได้ง่ายโดยไม่ทิ้งคราบ หรือเทปพันสายไฟก็ได้
คัตเตอร์หรือกรรไกร สำหรับตัดเทปกาว หรือใช้งานด้านอื่น
ไฟฉาย ใช้ในกรณีที่เป็นมุมอัพหรือพื้นที่ที่มีแสงสวางน้อย เช่นบนฝ้าเพดาน ห้องเก็บชองใต้บันได เป็นต้น
ถังน้ำ สำหรับตวงน้ำเพื่อใช้ในการทดสอบการระบายน้ำ ความลาดเอียง/ พื้นที่น้ำขังบนพื้น
เศษผ้า สำหรับเช็ดทำความสะอาด หรือใช้อุดรูระบายน้ำ
ไม้ตรงขนาดยาว ใช้สำหรับตรวจสอบระนาบของพื้น
ลูกแก้ว สำหรับทดสอบความลาดเอียงของพื้น
ขนมปัง สำหรับตรวจสอบระบบชักโครก
กล้องถ่ายรูป ใช้บันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งซ่อม
ไขควงวัดไฟ สำหรับใช้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยต้องใช้งานด้วยความระมัดระวังด้วย
ถุงมือยางและรองเท้ายาง ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุระว่างเช็คระบบไฟ

ขั้นตอนที่ 3: ตรวจเช็คงานทั้งหมด
เมื่อถึงวันนัดหมายแล้ว ก็เตรียมตัวตรวจเช็คสภาพได้เลย โดยแนะนำให้เช็คเป็นห้องๆไป เริ่มตั้งแต่การเช็คพื้น ผนัง เพดานต่างๆ ตลอดจนระบบน้ำและไฟ
ภายนอกบ้าน
การตรวจสอบรั้ว ประตูรั้ว ดินถมรอบบ้าน สวน ระบบสระน้ำ ที่จอดรถ ทางเดินนอกบ้าน และ การระบายน้ำ โดยตรวจไล่ไปตั้งแต่ประตูรั้วและรั้วว่า มีการก่อสร้างที่แข็งแรง ใช้งานได้ปกติดี ปลอดภัย แล้วจึงมาดูในส่วนของการจัดสวนภายรอบบ้านว่า งานระบบในสวนสามารถใช้งานได้อย่างปกติ ต้นไม้มีการแกะถุงพลาสติกก่อนปลูก และเป็นต้นไม้ที่ย้ายมาปลูกอย่างถูกต้อง ต้นไม้ไม่ตายเร็ว หรือดูความเรียบร้อยของการถมดิน การปลูกหญ้า และการจัดการน้ำของระบบสระน้ำ หรือสระว่ายน้ำต้องใช้งานได้อย่างปกติ ไม่มีสิ่งใดอุดตัน และสุดท้ายก็ต้องดูเรื่องการระบายน้ำ ว่าสามารถระบายน้ำจากในบ้านไปยังนอกบ้านได้ดีหรือเปล่า
โครงสร้างบ้าน
ได้แก่ การตรวจสอบเสา คาน ผนัง หรือส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคาร โดยจริงๆ แล้วท่านควรเข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อให้เห็นโครงสร้างภายในก่อนเทปูน อย่างไรก็ตามหากเป็นบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ให้ใช้การตรวจสอบด้วยการสังเกตุ โดยเฉพาะในส่วนโครงสร้างที่ต้องมีความแข็งแรงและได้มาตรฐาน ไม่มีรอยร้าวประเภทที่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง ผนังไม่มีการล้มเอียง หรือคานโค้งงอที่ทำให้ดูไม่ปลอดภัย
ส่วนงานพื้น ได้แก่ การตรวจสอบโครงสร้างพื้น การตรวจสอบการปูวัสดุพื้น และการเลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องตามการใช้งาน โดยการตรวจโครงสร้างพื้นต้องตรวจสอบด้วยการเคาะหรือการทดลองเดินให้ทั่วว่า ปูนใต้วัสดุปูพื้นต้องแน่น ไม่เป็นโพรง ต้องมีการเทปรับระดับก่อนการปูวัสดุ
ส่วนการตรวจสอบการปูวัสดุพื้นนั้น พื้นแต่ละประเภทต้องปูได้ถูกต้องตามวิธีการ วัสดุพื้นปูได้เรียบเนียน ลายวัสดุพื้นถูกต้อง ไม่มีคราบสิ่งสกปรกและคราบปูนติดตามวัสดุปูพื้น หรือต้องมีการทายาแนวที่เรียบร้อย สวยงาม และไม่เสี่ยงต่อการรั่วซึมสำหรับวัสดุพื้นกระเบื้อง รวมไปถึงการตรวจสอบว่าใช้วัสดุพื้นที่ถูกต้องหรือไม่ เช่น ไม่ควรใช้พื้นที่ไม่ถูกกับน้ำไปปูนอกบ้าน เป็นต้น

งานผนัง
ได้แก่ การตรวจสอบการฉาบผนัง การตรวจสอบวัสดุปูผนัง และการตรวจสอบบัวเชิงผนังบัวพื้น โดยผนังปูนต้องฉาบได้เรียบสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนใดปูดหรือเป็นหลุม โดยใช้ไม้ยาววางทราบเพื่อดูระนาบ และไม่มีรอยร้าว นอกจากนี้ควรสอบถามกับทางโครงการว่าใช้วัสดุก่อผนังเป็นอะไร และใช้ปูนอะไรฉาบผนัง เพราะถ้าใช้ผิดประเภทใช้ไปนานๆ ผนังปูนอาจจะหลุดร่อนและแตกร้าวต่อไปได้
ถัดมาก็เป็นการตรวจสอบวัสดุปูผนังหรือผนังทาสี โดยดูการติดตั้งวัสดุปูผนังต้องปูได้เรียบสม่ำเสมอ ถูกต้องตามวิธีการติดตั้ง ไม่มีคราบสกปรกหรือคราบปูนติด ถ้าเป็นผนังสี ก็ตรวจสอบการทาสีว่าทาได้เรียบสม่ำเสมอ เรียบเนียน โดยหากมีการแก้ไขหลายครั้ง ไม่ควรให้ช่างทาสีทับกันเกินกว่า 5 ครั้ง เพราะจะทำให้สีหลุดล่วงได้
นอกจากนี้ยังมีส่วนของการตรวจสอบบัวเชิงผนังหรือบัวพื้น มอบฝ้าหรือบัวฝ้าเพดาน โดยตรวจสอบวัสดุที่นำมาใช้ว่ามีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีสีหลุด การติดตั้งต้องติดตั้งได้เรียบชิดกับผนังและพื้น
ประตูหน้าต่าง
ได้แก่ การตรวจสอบการติดตั้งวงกบ และการตรวจสอบประตูและหน้าต่าง วงกบต้องติดตั้งได้เรียบร้อยแนบติดกับผนัง วงกบต้องไม่มีรอยบิ่น มีการทำบังใบเรียบร้อย เมื่อปิดประตูบานต้องเรียบสนิทกับวงกบ และควรสอบถามว่ามีการทำเสาเอ็นรอบวงกบหรือไม่ เนื่องจากหากไม่ทำมักเกิดรอยร้าวเป็นแนวเฉียงที่ผนัง
ส่วนการตรวจสอบประตูและหน้าต่าง ท่านเพียงตรวจสอบการใช้งานในส่วนของตัวบานว่าเป็นของใหม่ ไม่ชำรุด ไม่มีรอยเปื้อน ถ้าเป็นบานกระจก ก็ต้องดูว่าไม่มีรอยแตก ติดตั้งได้แน่นหนากับตัวบาน และตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่ล็อก บานพับ และลูกบิด ทำงานได้ดีหรือไม่ โดยทดสอบจากการใช้งานซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง โดยออกแรงมากกว่าปกติเพื่อดูความแข็งแรง
บันได
ตรวจสอบวัสดุปูพื้นทำขั้นบันได และการติดตั้งราวบันได โดยตรวจสอบความเรียบร้อยของการก่อสร้างบันได บันไดแต่ละชั้นต้องมีขนาดเท่ากัน มีการเก็บงานเรียบร้อย วัสดุที่นำมาใช้เป็นขั้นบันได ควรเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น หรือมีการติดตั้งจมูกบันได ส่วนการติดตั้งราวบันได ต้องมีการติดตั้งที่ความสูงถูกต้อง จับได้ถนัดมือ ราวบันไดต้องติดตั้งได้อย่างแน่นหนา ไม่โยกไป-มา
ฝ้าเพดาน
ฝ้าเพดานจะมีหลายประเภทด้วยกัน หากเป็นฝ้าเพดานทีบาร์ เส้นทีบาร์ต้องเรียบสม่ำเสมอ รอยต่อต้องไม่เกยกัน แผ่นกระเบื้องซีเมนต์ที่ใส่ในช่องต้องมีขนาดเท่ากัน เมื่อวางเรียงแล้วต้องไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่นกับเส้นทีบาร์ ถ้าเป็นฝ้าเพดานแบบยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ บริเวณรอยต่อของแผ่นต้องมองไม่เห็นรอยยาแนว ควรเรียบเสมอไปกับฝ้าเพดานส่วนอื่นๆ
หลังคา
ตรวจสอบการปูกระเบื้องหลังคา การตรวจสอบการรั่วซึม และการตรวจสอบวัสดุฝ้าเพดานที่ใช้ภายนอก หลักสำคัญคือหลังคาต้องปูได้เรียบร้อย และทำให้ไม่เกิดการรั่วซึม โดยอาจจำเป็นที่ต้องการรอฝนตก หรือจ้างรถน้ำมาทำฝนเทียมเลยทีเดียว เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมเกิดขึ้น อาจจะมีผลต่อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านราคาแพงทำให้เกิดความเสียหายต่อไปอีกหลายต่อ โดยต้องปีนขึ้นไปดูใต้ฝ้า เพื่อดูว่ามีส่วนใดที่ปูกระเบื้องไม่เรียบร้อยและมีน้ำขังบนฝ้าเพดาน นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ภายนอกต้องเป็นชนิดกันชื้น

ระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและอุปกรณ์ การตรวจสอบไฟฟ้าในระบบ ทำได้โดยการทดลองเปิดไฟทั้งบ้านดู ว่ามีส่วนใดไม่ติดหรือมีแสงสว่างออกน้อยผิดปกติ หรือทดลองนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นำมาด้วย ไปทดลองเสียบปลั๊กดูว่ามีไฟฟ้าเข้าปกติหรือไม่ รวมไปถึงดูเรื่องการติดตั้งหลอดไฟแสงสว่าง การติดตั้งเต้าเสียบเต้ารับ และการเดินสายไฟว่ามีการก่อสร้างที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ มีการเก็บงานดี และไม่มีคราบสกปรกติดตามอุปกรณ์ ในส่วนของงานระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ตหรือการเดินสายไฟบนฝ้าเพดาน อาจจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญทำจะดีกว่าครับ
ระบบน้ำ
ตรวจสอบสุขภัณฑ์ ตรวจสอบงานระบบน้ำและการรั่วซึม เริ่มจากการตรวจสอบระบบน้ำประปา หรือระบบปั้มน้ำต่างๆ ว่ามีการทำงานปกติหรือไม่ อีกทั้งท่านควรลองเดินตรวจตามท่อน้ำต่างๆ ว่ามีร่องรอยน้ำรั่วหรือไม่ และตรวจสอบการทำงานของมิเตอร์น้ำ โดยให้ลองปิดน้ำทั้งบ้าน และดูว่าตัวเลขยังหมุนอยู่หรือไม่ ถ้ายังหมุนอยู่แสดงว่าอาจจะมีจุดที่รั่วสักแห่ง
ในส่วนของการตรวจสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ว่ามีสภาพสมบูรณ์ภายหลังติดตั้งหรือเปล่า โดยต้องทำงานได้ปกติ ไม่มีรอยขีดข่วนมากนัก ไม่มีการรั่วซึม ท่านอาจจะทดลองใช้งานอุปกรณ์หลายๆ ครั้ง ตรวจสอบระบบท่อน้ำทิ้งว่ามีการต่อท่อได้ดี ไม่มีการรั่วซึม อาจจะลองขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า หรือขังน้ำไว้ในห้องน้ำ เพื่อทดสอบการการระบายน้ำหรือการรั่วซึม

ขั้นตอนที่4: สรุปงานและส่งมอบงานเพื่อแก้ไข
หลังจากที่ได้ตรวจรับบ้าน จดบันทึก รวมถึงถ่ายรูปจุดที่ต้องการให้ทางโครงการซ่อมแซมก่อนเซ็นรับโอนเรียบร้อยแล้ว ก็ควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแจ้งให้ทางโครงการรับทราบ โดยแนบรายการและรูปภาพเป็นหลักฐานอ้างอิงไปด้วย เพื่อให้โครงการรับเรื่องไปดำเนินการต่อไป
หากทางโครงการอ้างว่าอยากให้เซ็นรับก่อนแล้วจะซ่อมให้ทีหลัง หรือบ้านมีประกันแล้ว สามารถเซ็นได้เลย เราต้องคุยให้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการให้ซ่อมแซมก่อน จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลัง
เมื่อตรวจรับบ้านหรือคอนโดแล้ว อย่าลืมศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้ด้วยนะ
- การแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน จะย้ายต้นทางหรือปลายทางก็ทำได้ง่ายกว่าที่คิด
- สร้างบ้านยังไงให้ถูกหลักฮวงจุ้ย อยู่แล้วดีอยู่แล้วรวย
- ฤกษ์ดีขึ้นบ้านใหม่ ย้ายบ้าน ประจำปี 2564
คิดเห็นอย่างไรบอกเราได้ที่นี่
ถาม-ตอบ กับ ตรวจรับบ้าน…ขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของควรทำ!
การตรวจรับบ้านหรือคอนโดมิเนียมก่อนการซื้อเป็นขั้นตอนสำคัญเพราะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างที่ไม่สมบูรณ์
การเตรียมตัวก่อนเข้าตรวจบ้านช่วยให้เรามีความพร้อมและการละเอียดในการตรวจรับบ้าน รวมถึงทำให้กระบวนการเป็นไปได้อย่างราบรื่น
ขั้นตอนสำคัญในการเตรียมตัวก่อนเข้าตรวจบ้าน
-วันเวลาที่เหมาะสม
-นัดหมายล่วงหน้า
-เตรียมเช็คลิสต์และศึกษาวิธีการตรวจเช็คให้ละเอียด
บ้านหรือคอนโดมิเนียมที่มีปัญหาจากการตรวจรับสามารถแก้ไขได้ แต่อาจต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
-ควรเตรียมสมุด/ปากกา
-ผังแบบแปลนบ้าน
-ตลับเมตร
-อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย
-คัตเตอร์
-ไฟฉาย
-ถังน้ำ
-เศษผ้า
-ไม้ตรง
-ลูกแก้ว
-ขนมปัง
-กล้องถ่ายรูป
-ไขควงวัดไฟ
-ถุงมือยาง
-รองเท้ายาง
ขนมปังจะช่วยตรวจสอบระบบชักโครกได้
การตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบน้ำบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ระบบทำงานปกติ ควรตรวจสอบท่อน้ำ สายน้ำ และปั๊มน้ำเป็นประจำ เพื่อป้องกันการรั่วซึมและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจสอบและดูแลเครื่องปรับอากาศในบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรทำการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำความสะอาดและตรวจสอบระบบการทำงาน เพื่อป้องกันการเสียหายและเพิ่มอายุการใช้งาน
การดูแลรักษาภายนอกบ้านเพื่อให้บ้านสวยงามและปลอดภัยควรเช็คและดูแลสวน ระบบน้ำ ประตู ระบบสระน้ำ และทางเดินนอกบ้าน และตรวจสอบการระบายน้ำเพื่อป้องกันซึมที่ฐานบ้าน
การตรวจสอบความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้างบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้บ้านมีความปลอดภัย ควรตรวจสอบเสา คาน และผนัง และตรวจสอบโครงสร้างพื้น เพื่อป้องกันการร้าวหรือพังทลาย
การตรวจสอบและดูแลระบบไฟฟ้าในบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้า เช่นการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า, การตรวจสอบการเดินสายไฟ และการดูแลรักษาอุปกรณ์
การตรวจสอบและดูแลบันไดของบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัย ควรตรวจสอบวัสดุปูพื้น ราวบันได และขนาดของบันได และตรวจสอบการติดตั้งอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการโยกไป-มาและการลื่น
การจัดทำลายลักษณ์อักษรเพื่อแจ้งโครงการเพื่อรับทราบและดำเนินการซ่อมบ้านเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยป้องกันปัญหาในภายหลัง ท่านควรเรียบเรียงบันทึกการตรวจรับบ้านที่ได้ทำไว้ให้ชัดเจน และแนบรายการและรูปภาพเป็นหลักฐานอ้างอิงไปด้วย เพื่อให้โครงการได้รับทราบถึงข้อเสนอแนะและซ่อมบำรุงที่ต้องการ นอกจากนี้ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการซ่อมบ้านในกรณีที่โครงการต้องการเซ็นรับก่อนหรือหลังโอนที่ดิน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังที่ไม่ชัดเจน และควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการต้องการซ่อมก่อนเซ็นรับ หรือถ้ามีประกันบ้านแล้วสามารถเซ็นรับได้ทันที เพื่อป้องกันปัญหาตามมาทีหลังที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่ชัดเจนทางโครงการว่าต้องการซ่อมก่อนหรือไม่ การปฏิบัติตามคำแนะนำนี้จะช่วยลดความไม่แน่ใจและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้เป็นอย่างดี
บทความน่าสนใจเพิ่มเติม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าคอนโด ที่เจ้าของคอนโดไม่ควรมองข้าม
ในยุคนี้ ยุคที่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กำลังเป็นที่นิยม จึงทำให้มีนักลงทุนหลายๆ รายต่างซื้อคอนโดเพื่อปล่อยให้เช่ามากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าเจ้าของคอนโดหรือผู้ที่ต้องการปล่อยคอนโดให้เช่า อาจจะต้องทำความเข้าใจกับสัญญา

ดอกเบี้ยบ้าน 66 ธนาคารไหนถูกและดี เช็คเลย!
ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ยบ้านปี 2566 เรามาอัพเดทกันดีกว่า ว่าแต่ละธนาคารจะมีโปรอะไร เพื่อดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าที่อยากขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกันบ้าง 👇🏻👇🏻สามารถเช็คได้ที่นี่เลย

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี2566 ที่ทุกคนต้องรู้ !
ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ได้ถูกร่างขึ้นมาเพื่อใช้แทน พรบ.ภาษีที่ดินและโรงเรือน และภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเก็บภาษีซ้ำซ้อน

ฤกษ์ดีขึ้นบ้านใหม่ ย้ายบ้าน ประจำปี 2566 ฤกษ์ดี วันมงคล ช่วยเสริมมั่งคั่งร่ำรวย
สำหรับคนที่กำลังมองหา ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ 2566 อยากรู้ว่าฤกษ์ดีแต่ละเดือนมีวันไหนบ้าง สำหรับใช้ในการเตรียมตัวขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบ้านใหม่ ย้ายเข้าบ้านใหม่ สร้างบ้าน ลงเสาเอก รวมถึงคนที่กำลังจะเปิดร้านใหม่

เช่าคอนโดในเชียงใหม่ จะเริ่มต้นยังไงดี? คำถามที่ถูกถามบ่อย
หลายๆคนตอนนี้ อยากจะหาเช่าคอนโด แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง จะหาคำแนะนำจากไหน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากใช่ไหม? วันนี้ทาง

ฮิลล์ทาเนีย คอนโดมิเนียม ความหรูหราสะดวกสบายไร้ขีดจำกัด
จากธุรกิจครอบครัว สู่การสรรค์สร้างที่พักอาศัยสุดหรูหราที่เริ่มโครงการเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว จึงได้ก่อกำเนิดเป็นคอนโดที่พักอาศัยสุดทันสมัย ด้วยการออกแบบจากการร่วมทุนของนักสถาปัตยกรรมชั้นนำของประเทศไทย