การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

เมื่อคุณซื้อบ้านใหม่ ย้ายบ้านใหม่ หรือสร้างบ้านเสร็จแล้วนั้น ก็ได้เวลาที่ต้องทำการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากันใช่ไหมคะ ซึ่งวิธีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใครหลาย ๆ คน ที่ยังไม่เคยขอและเป็นครั้งแรก ลองอ่านบทความนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจได้ง่าย ๆ ที่นี่ได้เลย

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด
ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

หากคุณตรงกับกลุ่มคนเหล่านี้ คุณก็สามารถขอใช้ไฟฟ้าได้ไม่ยาก

  1. คุณต้องเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของสถานที่ ที่คุณต้องการใช้ไฟฟ้า
  2. คุณต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จะใช้ไฟฟ้า
  3. หากคุณเป็น ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. หากคุณเป็น ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า
เอกสารที่คุณจะต้องเตรียมเพื่อการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า มีเอกสารทั้งหมดดังนี้ เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

กรณีบุคคลผู้มีสัญชาติไทย มีเอกสารทั้งหมดดังนี้

  1. บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรประจําตัวข้าราชการ / บัตรประจําตัวพนักงานองค์กรรัฐ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่คุณต้องการขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้าและสําเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้ขอใช้ไฟฟ้า
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด
การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

กรณีบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย(ชาวต่างประเทศ) มีเอกสารทั้งหมดดังนี้

  1. หนังสือเดินทาง (Passport)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า
  3. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. อื่น ๆ (ถ้ามี)

**กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ผู้รับมอบอำนาจจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสําเนาบัตรประชาชน หรือสําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือสําเนาบัตรประจําตัวพนักงานของรัฐ หรือสําเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

กรณีนิติบุคคล มีเอกสารทั้งหมดดังนี้

  1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
  2. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
  3. สําเนาทะเบียนที่ขอใช้ไฟฟ้า
  4. สําเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  5. อื่น ๆ (ถ้ามี)

**กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน  ผู้มอบอำนาจจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจและประทับตราสำคัญของนิติบุคคล(ถ้ามี) พร้อมสําเนาบัตรประชาชน หรือสําเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสําเนาบัตรประจําตัวพนักงานของรัฐหรือสําเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด
การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

กรณีมอบอำนาจ ตองมีหนังสือมอบอำนาจ

หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว (สำหรับใช้ในการก่อสร้าง) มีเอกสารทั้งหมดดังนี้ เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอติดตั้งไฟฟ้า
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (กรณีที่ถ้ายังไม่ได้ ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)
  4. โฉนดที่ดินสถานที่ ที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
  5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอาท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย

** ดาวน์โหลดเอกสาร คำร้องขอโอนและรับโอนผู้ใช้ไฟฟ้าแบบที่ 1 กรณีผู้โอนหรือผู้รับมอบอำนาจและผู้รับโอนต้องมาทำการโอนที่ กฟฟ 

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

  1. หลักจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร (กรณีหากยังไม่เดินสายไฟฟ้า ให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ)
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง 
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน

 สถานที่ติดต่อเพื่อขอใช้ไฟฟ้า

  • ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุกแห่งในประเทศไทย

สอบถามการไฟฟ้า

หากไม่สะดวกสามารถขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าทางออนไลน์ได้แล้วนะ รู้ยัง?

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด
ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

หากคุณไม่สะดวกที่จะเข้าไปติดต่อที่การไฟฟ้าโดยตรง เราขอแนะนำขั้นตอนดังนี้ไปนี้ ง่ายแสนง่าย ทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีขั้นตอนทั้งหมดดังนี้

  1. การขอใช้ไฟฟ้าผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ pea.co.th ก่อนเลยอันดับแรก

          เลือก “e-Service”

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. เลือก “ขอใช้ไฟฟ้า” 
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. เลือกประเภทการขอใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา ว่าเป็น “บุคคลธรรมดา ประชาชนทั่วไป” หรือ “นิติบุคคล  องค์กร บริษัท หน่วยงาน”
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. อ่านเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าและในกรณีที่ต้องการขอใช้น้ำประปา ให้เลือก ✓ ต้องการขอใช้น้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) ด้วย โดยผู้ขอใช้ไฟฟ้าและประปา สามารถอ่านเงื่อนไขการขอใช้น้ำประปาได้ 
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. การรับคำร้องและตรวจสอบหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน

– กรณีลูกค้าขอใช้ไฟฟ้าในวัน/เวลาทำการ การไฟฟ้าสวนภูมิภาคจะติดต่อแจ้งลูกค้าภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อนัดสำรวจสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า  

– กรณีลูกค้าขอใช้ไฟฟ้านอกวัน/เวลาทำการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะติดต่อแจ้งลูกค้าภายในเวลา 09.30 น. ของวันทำการถัดไป เพื่อนัดสำรวจสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า 

การชำระค่าธรรมเนียมติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ชำระได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าสวนภูมิภาค และ PEA Shop 

  1. การติดตั้งมิเตอร์ส่งมอบใบเสร็จ/สัญญาบันทึกผลการติดตั้งแล้วเสร็จ

– ในเขตเทศบาลภายใน 2 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน – นอกเขตเทศบาล ภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน 

  1. กรอกประวัติผู้ใช้บริการ (ตามบัตรประชาชน)

 

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. กรอกข้อมูลสถานที่ขอรับบริการ (สถานที่ขอใช้ไฟฟ้า-น้ำประปา) กรณีเป็นสถานที่เดียวกับประวัติผู้ใช้บริการ (ตามบัตรประชาชน) ให้เลือก ✓ เหมือนที่อยู่ตามบัตรประชาชน กรณีเป็นสถานที่อื่นให้ กรอกข้อมูลเพิ่มเติม  จากนั้นเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสม  โดยสามารถคลิกปุ่ม คำนวณโหลด อุปกรณ์ไฟฟ้าได้  และเลือกขนาดมาตรวัดน้ำประปาตามความต้องการการใช้น้ำ ดังนี้
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

หลังจากนั้นคลิก “ยืนยัน” เพื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนขอใช้บริการและระบบจะแจ้ง “หมายเลขคำร้องการขอใช้ ไฟฟ้า” ให้ลูกค้าทราบทางหน้าจอและทาง e-mail ที่ได้ให้ไว้   

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

การติดตามสถานการณ์ขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ผ่านอินเตอร์เน็ต (e-Service)

  1. เข้าเว็บไซต์ pea.co.th  เลือก “e-Service”
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

เลือก “ขอใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา ผ่านอินเตอร์เน็ต” 

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

เลือก “ตรวจสอบสถานะ คําร้องต่างๆ” 

การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

  1. กรอก “หมายเลขคําร้อง” ที่ต้องการค้นหา แล้วเลือก “ค้นหา”
การขอติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณรูปจาก: https://www.pea.co.th/

ระบบจะแสดงสถานะคำร้องการขอใช้ไฟฟ้า และน้ำประปา 

**ทราบการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้ากันแล้วใช่ไหมคะ หากอยากทราบเกี่ยวกับเรื่องการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ได้เลย แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน แต่หากยังหาวันหาฤกษ์ดีขึ้นบ้านใหม่ย้ายบ้าน ยังไม่ได้สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ ฤกษ์ดีขึ้นบ้านใหม่ ย้ายบ้าน ประจำปี 2564 ได้ที่นี่นะคะ

คิดเห็นอย่างไรบอกเราได้ที่นี่

ถาม-ตอบ กับ ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า กฟภ. ไม่ยากอย่างที่คิด ติ

  1. คุณต้องเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของสถานที่ ที่คุณต้องการใช้ไฟฟ้า
  2. คุณต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จะใช้ไฟฟ้า
  3. หากคุณเป็น ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. หากคุณเป็น ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  1. บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรประจําตัวข้าราชการ / บัตรประจําตัวพนักงานองค์กรรัฐ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่คุณต้องการขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้าและสําเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้ขอใช้ไฟฟ้า
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)
  1. หนังสือเดินทาง (Passport)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า
  3. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. อื่น ๆ (ถ้ามี)

สามารถให้คนอื่นไปขอติดตั้งมิเตอร์แทนได้ โดยผู้รับมอบอำนาจจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสําเนาบัตรประชาชน หรือสําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือสําเนาบัตรประจําตัวพนักงานของรัฐ หรือสําเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

  1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
  2. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
  3. สําเนาทะเบียนที่ขอใช้ไฟฟ้า
  4. สําเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  5. อื่น ๆ (ถ้ามี)
  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอติดตั้งไฟฟ้า
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (กรณีที่ถ้ายังไม่ได้ ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)
  4. โฉนดที่ดินสถานที่ ที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
  5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  1. หลักจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร (กรณีหากยังไม่เดินสายไฟฟ้า ให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ)
  1. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง 
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุกแห่งในประเทศไทย

  1. การขอใช้ไฟฟ้าผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ pea.co.th ก่อนเลยอันดับแรก  เลือก “e-Service”
  2. เลือก “ขอใช้ไฟฟ้า” 
  3. เลือกประเภทการขอใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา ว่าเป็น “บุคคลธรรมดา ประชาชนทั่วไป” หรือ “นิติบุคคล  องค์กร บริษัท หน่วยงาน”
  4. อ่านเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าและในกรณีที่ต้องการขอใช้น้ำประปา ให้เลือก ✓ ต้องการขอใช้น้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) ด้วย โดยผู้ขอใช้ไฟฟ้าและประปา สามารถอ่านเงื่อนไขการขอใช้น้ำประปาได้ 
  5. การรับคำร้องและตรวจสอบหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน

    – กรณีลูกค้าขอใช้ไฟฟ้าในวัน/เวลาทำการ การไฟฟ้าสวนภูมิภาคจะติดต่อแจ้งลูกค้าภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อนัดสำรวจสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า  

    – กรณีลูกค้าขอใช้ไฟฟ้านอกวัน/เวลาทำการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะติดต่อแจ้งลูกค้าภายในเวลา 09.30 น. ของวันทำการถัดไป เพื่อนัดสำรวจสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า

  6. การติดตั้งมิเตอร์ส่งมอบใบเสร็จ/สัญญาบันทึกผลการติดตั้งแล้วเสร็จ
    – ในเขตเทศบาลภายใน 2 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน – นอกเขตเทศบาล ภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน

  7. กรอกประวัติผู้ใช้บริการ (ตามบัตรประชาชน)
    กรอกข้อมูลสถานที่ขอรับบริการ (สถานที่ขอใช้ไฟฟ้า-น้ำประปา) กรณีเป็นสถานที่เดียวกับประวัติผู้ใช้บริการ (ตามบัตรประชาชน) ให้เลือก ✓ เหมือนที่อยู่ตามบัตรประชาชน กรณีเป็นสถานที่อื่นให้ กรอกข้อมูลเพิ่มเติม  จากนั้นเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสม  โดยสามารถคลิกปุ่ม คำนวณโหลด อุปกรณ์ไฟฟ้าได้  และเลือกขนาดมาตรวัดน้ำประปาตามความต้องการการใช้น้ำ หลังจากนั้นคลิก “ยืนยัน” เพื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนขอใช้บริการและระบบจะแจ้ง “หมายเลขคำร้องการขอใช้ ไฟฟ้า” ให้ลูกค้าทราบทางหน้าจอและทาง e-mail ที่ได้ให้ไว้   

ชำระได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ PEA Shop 

บทความน่าสนใจเพิ่มเติม

Compare listings

Compare